วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แฟ้มสะสมงาน (สัปดาห์ที่2)




แฟ้มสะสมงาน  สัปดาห์ที่2

1)เนื้อหา/กิจกรรมที่ทำในสัปดาห์
  นักศึกษารวบรวมความหมาย ลักษณะ ความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม จากแหล่งข้อมูล10แหล่ง จากที่อาจารย์สืบค้นมาให้ ทำความเข้าใจความหมายของข้อมูลแต่ละที่มาที่ต่างกัน แล้วนำมารวบรวมเป็นความหมาย ตามความเข้าใจของนักศึกษา นั่นคือ
  ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายระหว่างบุคคล
  ลักษณะ คือ 1. ใช้เสียงสื่อความหมาย
                      2. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
                      3. ภาษาทั่วโลกมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน
  ความสำคัญ คือ 1. ภาษาช่วยดำรงสังคม
                      2.ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
                      3.ช่วยให้มนุษย์พัฒนา
                      4.ช่วยกำหนดอนาคต
                      5.ช่วยจรรโลงใจ
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการเรียนรู้ ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมและการดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม
ลักษณะ คือ 1. เกิดจากการเรียนรู้
                     2.เป็นมรดกทางสังคม
                     3.เป็นแบบแผนการดำรงชีวิต
ความสำคัญ  คือ 1.เป็นตัวกำหนดปัจจัย 4
                     2.แสดงให้เห็นความแตกต่างของแต่ล่ะบุคคล
                     3.ทำให้เห็นความแตกต่างของคนและสัตว์
 แล้วนำมาสรุปเป็นแผนผังมโนทศน์ พร้อมอัดคลิปอธิบาย
2)ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
1.ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการใช้เหตุผลเพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน สมบูรณ์
2.มีความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบแผนผังมโนทัศน์  เสริมสร้างจินตนาการทางความคิด
3.ทักษะการนำเสนอข้อมูล
3)ภาพ/วิดีโอประกอบ


4)สรุป
           จากกิจกรรมการรวบรวมความหมาย ลักษณะ ความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม จากแหล่งข้อมูล10แหล่ง จากที่อาจารย์สืบค้นมาให้ ทำความเข้าใจความหมายของข้อมูลแต่ละที่มาที่ต่างกัน แล้วนำมารวบรวมเป็นความหมาย ตามความเข้าใจของนักศึกษา
ภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายระหว่างบุคคล
  ลักษณะ คือ 1. ใช้เสียงสื่อความหมาย
                  2. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
                  3. ภาษาทั่วโลกมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน
ความสำคัญ คือ 1. ภาษาช่วยดำรงสังคม
                    2.ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
                    3.ช่วยให้มนุษย์พัฒนา
                    4.ช่วยกำหนดอนาคต
                    5.ช่วยจรรโลงใจ
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการเรียนรู้ ใช้ในการควบคุมพฤติกรรมและการดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม
ลักษณะ คือ 1. เกิดจากการเรียนรู้
                2.เป็นมรดกทางสังคม
                3.เป็นแบบแผนการดำรงชีวิต
ความสำคัญ  คือ 1.เป็นตัวกำหนดปัจจัย 4
                     2.แสดงให้เห็นความแตกต่างของแต่ล่ะบุคคล
                       3.ทำให้เห็นความแตกต่างของคนและสัตว์
ทำให้นักศึกษาการคิดวิเคราะห์ และการใช้เหตุผล   ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบแผนผังมโนทัศน์ การนำเสนอข้อมูล






งานที่ 3 (SMCR ของ Berlds S-M-C-R communication in business)


        
งานที่ 3 SMCR ของ Berlds S-M-C-R communication in business

สรุปตาม SMCR ของ Berlds S-M-C-R communication in business

1.Source (ผู้ส่ง) คือคุณครู/ผู้สอน ผู้สอนจะต้องมีทักษะการสื่ีอสาร เช่นต้องการสื่อสารในบทเรียนเรื่องการังเคราะห์แสงของพืช ใช้คำที่สามารถเข้าใจง่าย ชัดเจน อธิบายได้อย่างละเอียด พูดชัดถ้อยชัดคำ ไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไป
Attitudes (ทัศนคติ) บอกถึงประโยชน์ของพืชเช่น ให้ร่มเงาให้อากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีทันคติที่ดีต่อการเรียนและเป็นการปลูกฝังความคิดของผู้เรียนว่าต้นไม้และการสังเคราะห์แสงนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวจึงจะทำให้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น
Knowledge (ความรู้) ผู้สอนจะต้องเตรียมการเรียนการสอนในเนื้อหาสาระที่จะสอนสามารถอธิบายได้ละเอียดและตอบคำถามผู้เรียนได้อย่างเข้าใจ ไม่นำเนื้อหาที่เกินระดับการรับรู้ของผู้เรียนมาสอนเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
Social System (ระบบสังคม) การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจรับฟังและปฏิบัติตามกฎ กติกาของชั้นเรียนเพื่อที่จะได้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมใหญ่ได้อย่างไม่มีปัญหา
Culture (วัฒนธรรม) การทักทาย ทำความเคารพ การแต่งกาย ตรงต่อเวลา การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

2.Message (ข้อความ) เนื้อหารายวิชา คือ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
- องค์ประกอบของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ได้แก่ แสง น้ำ
- ส่วนเสริม เช่น ในวันที่มีฝนตกผู้เรียนไม่สามารถออกปฏิบัติการตามสถานที่จริงได้
  ผู้สอนก็ต้องนำตัวอย่างที่จะสอนนั้นมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา
  และทำความเข้าใจได้เหมือนกับการได้ออกไปสถานที่จริง
- โครงสร้าง การทำงานกลุ่ม และโครงสร้างด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร
- รหัส/ตีความ คือคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการเรียน

3.Channel (ช่องทาง)
- ตา คือการสังเกตุโดยการมองเห็นสีของใบพืช
- หู คือการได้ยินคำสั่งจากครูซึ่งเมื่อผู้เรียนฟังแล้วเข้าใจ
- จมูก คือการดมกลิ่นใบของพืชบางชนิด
- มือ/สัมผัส คือการสัมผัสพื้นผิวหรือใบพืชแล้วบอกได้ว่าหยาบหรือลื่นบอกถึงความแตกต่างได้
- ลิ้น คือการชิมรสชาติของใบพืชที่สามารถรับประทานได้เช่นใบเมี่ยง


4.Receiver (ผู้รับ/ผู้เรียน) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งได้ ตอบคำถามได้ตรงประเด็น
- Attitudes (ทัศนคติ) ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาและเนื้อหาที่เรียน
- Knowledge (ความรู้)นักเรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ"การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช" สามารถ    ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ และ   ผ่านการทดสอบการวัดและประเมินผล
- Social System (ระบบสังคม)ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กล้าแสดงความคิดเห็น  สามารถทำงานเป็นกลุ่มและ     แก้ไขปัญหาได้
- Culture (วัฒนธรรม)ผู้เรียนมีสัมมาคารวะ แต่งกายถูกระเบียบถูกกาลเทศะ ตรงต่อเวลา มีความรับผิด  ชอบ มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ เช่นช่วยกันปลูกและดูแลต้นไม้ ไม่ทิ้งขยะที่  โคนต้นไม้เป็นต้น




งานที่ 2 (วีดีโอแนะนำตัว)



วีดีโอแนะนำตัวเป็นเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย




1.ตัวอย่างวีดีโอแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ
 
          *สาเหตุที่เลือกวีดีโอนี้...   เนื่องจากเป็นการพูดจาที่ดูเป็นธรรมชาติและมีความเป็นตัวตนสูง
                                                    พูดแนะนำตัวใช้คำได้ถูกต้องแล้วชัดเจนดี
          *ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=EVFMbacF_PQ
 

2.ตัวอย่างวีดีโอแนะนำตัวเป็นภาษาไทย

          *สาเหตุที่เลือกวีดีโอนี้... เนื่องจากพูดจาด้วยความสุภาพ  เสียงฟังชัดเจนนุ่มนวลไม่เสียงดัง

                                                 จนเกินไป  พูดด้วยความยิ้มแย้มและมีการไหว้เพื่อแสดงความเคารพ

          * ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=_0fwe3jBKII


                                         























วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แฟ้มสะสมงาน (สัปดาห์ที่ 1)




แฟ้มสะสมผลงาน  สัปดาห์ที่ 1

1.เนื้อหา....


 วัฒนธรรม คือ    สิ่งที่มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน
ที่มา: http://guru.sanook.com/3883/


วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนำไปปฎิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็น "มรดดกแห่งสังคม" เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จนเป็นวิถีของสังคม


คำว่า วัฒนธรรม   หมายถึง แบบอย่าง แนวทางปฏิบัติ วิถีดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนแต่ละชุมชน ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนหรือสังคมนั้นๆ ซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่ส่งต่อมาสู่คนรุ่นหลัง  และสะท้อนถึงตัวตนที่ชัดเจน เช่น เอกลักษณ์ประจำชาติของคนไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งการใช้ภาษา อุปนิสัยใจคอที่ยิ้มแย้มแจ่มใส กิริยามารยาทที่อ่อนหวาน นุ่มนวล มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งวัฒนธรรมแต่ละชุมชนก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์และทรัพยากรในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ
ที่มา: http://xn--k3cpjt9d6a4e.net/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5/

     ดังนั้น  วัฒนธรรม จึงหมายถึง   สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วสืบทอดกันต่อๆมาเช่น  วัฒนธรรมการกิน   การแต่งกาย  การพูดจา  ของแต่ละภูมิภาค   แต่ละจังหวัด  แต่ละท้องถิ่นก็จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา




นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติการเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือกาiพัฒนาต่อยอด   ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล  และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด  และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ


นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยีสังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร



  คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”



     องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนเคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
นวัตกรรมคืออะไร
    นวัตกรรม (Innovation) คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้


โดยนวัตกรรมสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การประดิษฐ์คิดค้น ด้วยการปรับเปลี่ยนแก้ไขของเก่าให้ดีขึ้น เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น
2. พัฒนาการ เป็นการทดลองผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ
3. การนำไปปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์ดูว่านวัตกรรมที่สร้างขนมานั้นสมบูรณ์หรือไม่
จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือ “นวัตกรรม”…?
เราสามารถแยกแยะนวัตกรรมออกจากสิ่งของทั่วไปด้วยการพิจาณาถึงลักษณะของสิ่งของว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับนวัตกรรมหรือไม่ โดยพิจารณาได้จาก
– เป็นสิ่งของที่สร้างหรือคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือแค่บางส่วน
– มีวิธีการจัดระบบเป็นองค์ประกอบในส่วนของข้อมูล
– มีการพิสูจน์ และวิจัยว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของสิ่งต่างๆ ดังนั้นจึงมีการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม เป็นต้น เพื่อให้แต่ละด้านมีประสิทธิภาพและเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
    ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา

                                           

       "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้


      "ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ (ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ หากเป้าหมายนั้นไม่สร้างสรรค์ เช่น การรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อก่ออาชญากรรม เราไม่ถือว่าเป็นทีม แต่เป็นกลุ่มคน นั่นเพราะแม้มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวายแก่สังคมส่วนใหญ่)






ความแตกต่างระหว่างการทำงานเป็นกลุ่มและเป็นทีม การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไป หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้ การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวก ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน

2.ทักษะที่ได้
-ได้รู้จักการสร้าง blogger 
-ได้ลงมือปฏิบัติสร้าง blogger ด้วยตัวเอง
-ได้รู้จักการใช้เครื่องมือ  snipping  tool ในการถ่ายภาพหน้าจอ
-ทักษะในการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

                                           
3.ภาพ/วีดีโอที่ใช้ในทำงานบทที่ 1
                                   
  









4.สรุป

.ทักษะที่ได้
-ได้รู้จักการสร้าง blogger 
-ได้ลงมือปฏิบัติสร้าง blogger ด้วยตัวเอง
-ได้รู้จักการใช้เครื่องมือ  snipping  tool ในการถ่ายภาพหน้าจอ
-ทักษะในการหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
-เนื้อหา
     ดังนั้น  วัฒนธรรม จึงหมายถึง   สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วสืบทอดกันต่อๆมาเช่น  วัฒนธรรมการกิน   การแต่งกาย  การพูดจา  ของแต่ละภูมิภาค   แต่ละจังหวัด  แต่ละท้องถิ่นก็จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา

    ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา

     ความแตกต่างระหว่างการทำงานเป็นกลุ่มและเป็นทีม
การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไป หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้ การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวก ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน






วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่ 1 (ความหมาย วัฒธนธรรม/นวัตกรรม/กลุ่มกับทีม)





                                    วัฒนธรรม                           



     สิ่งที่มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วยมีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน
ที่มา: http://guru.sanook.com/3883/

     


       วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมในการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์แบบแผน เพื่อนำไปปฎิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ถือเป็น "มรดดกแห่งสังคม" เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง จนเป็นวิถีของสังคม


    คำว่า วัฒนธรรม   หมายถึง แบบอย่าง แนวทางปฏิบัติ วิถีดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนแต่ละชุมชน ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนหรือสังคมนั้นๆ ซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่ส่งต่อมาสู่คนรุ่นหลัง  และสะท้อนถึงตัวตนที่ชัดเจน เช่น เอกลักษณ์ประจำชาติของคนไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งการใช้ภาษา อุปนิสัยใจคอที่ยิ้มแย้มแจ่มใส กิริยามารยาทที่อ่อนหวาน นุ่มนวล มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งวัฒนธรรมแต่ละชุมชนก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์และทรัพยากรในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ
ที่มา: http://xn--k3cpjt9d6a4e.net/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5/

     ดังนั้น  วัฒนธรรม จึงหมายถึง   สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วสืบทอดกันต่อๆมาเช่น  วัฒนธรรมการกิน   การแต่งกาย  การพูดจา  ของแต่ละภูมิภาค   แต่ละจังหวัด  แต่ละท้องถิ่นก็จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา


                                  นวัตกรรม                                


     นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติการเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือกาiพัฒนาต่อยอดทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล  และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้นจะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัดและไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเป็นต้นว่าในด้านศิลป เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจและนโยบายของรัฐในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยีสังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการและในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร


  คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือ “ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”



     องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนเคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
นวัตกรรมคืออะไร
    นวัตกรรม (Innovation) คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

โดยนวัตกรรมสามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การประดิษฐ์คิดค้น ด้วยการปรับเปลี่ยนแก้ไขของเก่าให้ดีขึ้น เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น
2. พัฒนาการ เป็นการทดลองผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ
3. การนำไปปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์ดูว่านวัตกรรมที่สร้างขนมานั้นสมบูรณ์หรือไม่
จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือ “นวัตกรรม”…?
เราสามารถแยกแยะนวัตกรรมออกจากสิ่งของทั่วไปด้วยการพิจาณาถึงลักษณะของสิ่งของว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับนวัตกรรมหรือไม่ โดยพิจารณาได้จาก
– เป็นสิ่งของที่สร้างหรือคิดค้นขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือแค่บางส่วน
– มีวิธีการจัดระบบเป็นองค์ประกอบในส่วนของข้อมูล
– มีการพิสูจน์ และวิจัยว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของสิ่งต่างๆ ดังนั้นจึงมีการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม เป็นต้น เพื่อให้แต่ละด้านมีประสิทธิภาพและเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
    ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา



                                 กลุ่ม กับ ทีม                                                                        

      

 "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้




      "ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ (ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ หากเป้าหมายนั้นไม่สร้างสรรค์ เช่น การรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อก่ออาชญากรรม เราไม่ถือว่าเป็นทีม แต่เป็นกลุ่มคน นั่นเพราะแม้มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวายแก่สังคมส่วนใหญ่)




ความแตกต่างระหว่างการทำงานเป็นกลุ่มและเป็นทีม การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไป หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้ การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวก ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน


ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน....
หากมีข้อผิดพลาด ก็ขออภัยด้วยน่ะครับ....



                                                            







แฟ้มสะสมผลงาน(สัปดาห์ที่ 14)

แฟ้มสะสมผลงาน(สัปดาห์ที่ 14) 1. เนื้อหา/กิจกรรม   อาจารย์บอกแนวข้อสอบ มีด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อ 1. ถาม-ตอบแบบสั้น บทที่ 1-2 (5 คะแนน) 2. ...